วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

โครงสร้างตาม ป.ที่ดิน


โครงสร้างตาม ป.ที่ดิน ที่เกี่ยวข้อง...
         ม.56  แบบ หลักเกณฑ์  วิธีการออก......กำหนดในกฎกระทรวง..
         ม.57.......ข้อความสำคัญ.....รูปแผนที่....แสดงเขตข้างเคียงทั้งสี่ทิศ
         ม.58......สมควรมีการออก....ประกาศ......นำ...ทำการสำรวจรังวัด...
         ม.59…….ออกโฉนด....ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายกำหนด....
         ม.59 ทวิ...........ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
         ม.59 ตรี....ถ้าปรากฏว่าเนื้อที่ที่ทำการรังวัดแตกต่างไปจากเนื้อที่ตามใบแจ้ง......ออก....ได้เท่าเนื้อที่ที่ทำประโยชน์....ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
         ม.60…….โต้แย้งสิทธิกัน.....เปรียบเทียบ
         ม.61……..คลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบ......สั่งเพิกถอนหรือแก้ไข
         ม.65…..การรังวัด.......เป็นไปตาม.......กฎกระทรวง
         ม.66…..อำนาจเข้าไปในที่ดิน
         ม.67…..ห้ามทำลาย...ดัดแปลง...เคลื่อนย้าย..ถอดถอน
         ม.69…..สอบเขต....นำพนักงานทำการรังวัด
         ม.69ทวิ....ครอบครองไม่ตรงกับแผนที่หรือเนื้อที่.....ข้างเคียงรับรองเขตแล้ว.....เว้ณแต่เป็นการสมยอม....เลี่ยงกฎหมาย...ข้างเคียงไม่ดำเนินการ.....และผู้ขอรับรอง.....ไม่รุกล้ำ.....และยินยอมให้แก้......การแจ้งข้างเคียง.....กำหนดในกฎกระทรวง
          ม.70…..พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ........

    สิ่งที่เกี่ยวข้องที่ต้องศึกษาต่อตามกฎหมายในแต่ละมาตราอ้าง...อ้างอันในดูอันนั้น...กฎกระทรวง...ระเบียนคณะกรรมการ

ระเบียบข้างเคียง41การรับรองเขตทางราชการ 1304/42..

 ในส่วนของกรมได้วางระเบียบแนวทางให้ปฏิบัติ.....ระเบียบข้างเคียง41...จะมีหลักเกณการเขียน......วิธีการรับรองเขต....หน้าที่ของใครในการรับรองเขต.......สาระก็ไม่ได้บังคับให้ผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิโดยตรงรับรองเขตได้เท่านั้น....ส่วนราชการก็ให้ผู้มีอำนาจตามกฏหมายนั้นๆ....เอกชนหากมีชื่อร่วมใครก็ได้ในนั้น......หรือหากตายให้ทายาทหรือผู้รับพินัยกรรม หรือผู้จัดการ(ในที่นี้ไม่ได้ระบุลงไปว่าจะต้องเป็นผู้จัดการมรดก) โดยต้องบันทึกให้ทราบว่าใครเป็นทายาทโดยธรรมซึ่งครอบครองอยู่.......แม้แต่ไม่มีชื่อในเอกสารสิทธิก็สามารถรับรองเขตได้โดยบันทึกการอ้างของผู้ครองครองท่านนั้น....
.เพื่อให้รัดกุมอีกชั้นด้วยการออกคำสั่ง ว่าด้วยการรับรองเขตทางราชการ 1304/42......กรณีแบ่งแยกมีกฎหมายกำหนดให้ดำเนินการชัดเจน...ดำเนินการไปตามกฎหมาย.....

ยุติ และ ธรรม


ยุติ และ ธรรม  เป็นธรรมอันนำไปสู่ความยุติ คือจบลงแห่งเรื่องราว
 


อริสโตเติ้ลกล่าวว่าคุณธรรมสามประการ
    temperance  การรู้จักควบคุมตนการข่มใจ,การรู้จักพอ
    courage   ความกล้าหาญ คือการเลือกตัดสินใจด้วยเหตุผลถึงแม้จะตระหนักถึงอันตรายที่อยู่ข้างหน้า ผู้ที่มีความกล้าหาญไม่ใช่ผู้ที่ปราศจากความกลัว แต่เลือกกระทำด้วยความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่กระทำคือความถูกต้อง ไม่ใช่กล้าบ้าบิ่นขาดการไตร่ตรองด้วยปัญญา
    justice  ความยุติธรรม  มนุษย์ทุกคนควรปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเท่าเทียมกันเหมือนที่อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตนเอง

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

หลายความคิด ของ ดุลยพินิจ

ดุลพินิจของฝ่ายปกครอง

บ่อยครั้งผู้ใช้อำนาจตามกฎหมายมักให้เหตุผลในการตัดสินใจอนุมัติ อนุญาต หรือมีคำสั่งในเรื่องใดๆ ว่าเป็นอำนาจดุลพินิจของผู้มีอำนาจออกคำสั่งทางปกครองตามกฎหมาย หรือให้เหตุผลว่าเพื่อความเหมาะสม หรือเพื่อประโยชน์ต่อทางราชการและประชาชน ทำให้เกิดคำถามอยู่ในใจเสมอว่า ดุลพินิจคืออะไร แล้วอะไรคือความเหมาะสม ทำไมฝ่ายปกครองจึงมีอำนาจดุลพินิจ การใช้ดุลพินิจมีขอบเขตหรือไม่ และใครมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครอง
ก่อนอื่นเราควรมาทำความเข้าใจในหลักกฎหมายปกครองเบื้องต้นเสียก่อนว่าเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ(ฝ่ายปกครอง)กับประชาชน ในลักษณะที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจเหนือกว่าในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจมหาชน(อำนาจตามกฎหมาย) เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของสังคมและประโยชน์สาธารณะ การปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายปกครองจึงเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย กฎหมายให้อำนาจฝ่ายปกครองหรือหน่วยงานทางปกครองมีอำนาจใน ลักษณะ คือ อำนาจผูกพัน(Mandatory Power) และ อำนาจดุลพินิจ (Discretionary Power)
ดุลพินิจคืออะไร  ดุลพินิจตามความหมายของกฎหมายปกครองหมายความถึง อำนาจตัดสินใจอย่างอิสระที่จะเลือกกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนด จากความหมายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าอำนาจดุลพินิจเป็นอำนาจที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ใช้อำนาจสามารถเลือกตัดสินใจกระการอย่างใดหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างอิสระ ดังนั้นดุลพินิจของฝ่ายปกครองก็คืออำนาจที่กฎหมายบัญญัติให้ฝ่ายปกครองสามารถเลือกตัดสินใจที่จะกระทำการได้หลายอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีและบรรลุวัตถุประสงค์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ทำไมกฎหมายจึงต้องกำหนดให้ฝ่ายปกครองมีอำนาจดุลพินิจ เหตุที่กฎหมายจะต้องกำหนดให้ฝ่ายปกครองมีอำนาจดุลพินิจ เนื่องจากเป็นข้อจำกัดของฝ่ายนิติบัญญัติที่ไม่อาจจะตรากฎหมายให้มีเนื้อหาสาระครอบคลุมข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ในทุกเรื่องทุกกรณี จึงต้องบัญญัติให้ฝ่ายปกครองมีอำนาจดุลพินิจในการปรับใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและเจตนารมณ์ของกฎหมาย การใช้กฎหมายจึงเป็นการนำกฎหมายมาใช้บังคับแก่ข้อเท็จจริงในกรณีเฉพาะเรื่อง ซึ่งเป็นการปรับบทกฎหมายให้เข้ากับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้ว โดยมีหลักเกณฑ์การใช้กฎหมายที่ผู้ใช้กฎหมายต้องพิจารณาว่า ข้อเท็จจริงนั้นเป็นเรื่องอะไร มีหลักกฎหมายในเรื่องนั้นว่าอย่างไร ข้อเท็จจริงเข้ากับหลักกฎหมายนั้นหรือไม่ และถ้าข้อเท็จจริงเข้ากับหลักกฎหมายนั้นแล้วมีผลอย่างไร
เมื่อใดฝ่ายปกครองจึงมีอำนาจดุลพินิจ ฝ่ายปกครองจะมีอำนาจดุลพินิจก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจฝ่ายปกครองเลือกได้หลายทางในการตัดสินใจที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งหากตัดสินใจเลือกกระทำการไปทางหนึ่งทางใดโดยมีเหตุผลอันสมควรแล้วถือว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการใช้อำนาจดุลพินิจโดยชอบ กรณีที่กฎหมายกำหนดให้ฝ่ายปกครองต้องกระทำการใดเพียงทางเดียว      โดยไม่ให้ฝ่ายปกครองมีทาง
เลือกฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องปฏิบัติการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ กรณีนี้ ถือว่าฝ่ายปกครองไม่มีอำนาจดุลพินิจ จึงอาจกล่าวได้ว่าอำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครองเกิดขึ้นต่อเมื่อกฎหมายให้อำนาจดุลพินิจฝ่ายปกครองไว้นั่นเอง หากพิจารณาตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ จะพบว่ามีอยู่หลายมาตราที่บัญญัติให้อำนาจดุลพินิจแก่ฝ่ายปกครอง เช่น ดุลพินิจในการกำหนดเงื่อนไขใดๆ ในการออกคำสั่งทางปกครอง  ดุลพินิจในการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองให้มีผลใช้บังคับในเวลาใด  หรือดุลพินิจในการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสม เป็นต้น สำหรับกรณีที่กฎหมายไม่ให้อำนาจดุลพินิจฝ่ายปกครอง ได้แก่ การอนุญาตตั้งสถานบริการพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องคำนึงถึงประวัติการกระทำความผิดต่อกฎหมายของผู้ขออนุญาตประกอบด้วยกรณีนี้กฎหมายบังคับให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องนำประวัติการกระทำผิดกฎหมายของผู้ขออนุญาตมาประกอบการพิจารณาด้วยจะใช้ดุลพินิจไม่นำมาพิจารณาไม่ได้  หรือกรณีกฎหมายกำหนดเวลาให้ฝ่ายปกครองต้องพิจารณาสั่งการภายในเวลาที่กำหนด ฝ่ายปกครองต้องสั่งการให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กฎหมายบัญญัติ หากสั่งการเกินกำหนดเวลาต้องมีเหตุผลเพียงพอว่าเหตุแห่งความล่าช้ามิได้เกิดจากความบกพร่องของตนมิฉะนั้นอาจต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความล่าช้านั้นได้ 
ความอิสระในการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครองอาจทำให้เข้าใจผิดว่าฝ่ายปกครองสามารถใช้อำนาจดุลพินิจอย่างไรก็ได้โดยไม่มีขอบเขต ซึ่งความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ การที่กฎหมายกำหนดให้ฝ่ายปกครองมีอำนาจเลือกตัดสินใจได้หลายทางเพื่อต้องการให้ฝ่ายปกครองในฐานะผู้ใช้กฎหมาย สามารถปรับใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง อย่างสมเหตุสมผล และเป็นธรรมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนั้นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและการให้เหตุผลประกอบการพิจารณาตัดสินใจอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นกรอบหรือหลักทั่วไปในการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครอง ดังปรากฏในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง .. ๒๕๓๙ ที่กำหนดให้ผู้ทำคำสั่งทางปกครองต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ  ข้อกฎหมายที่อ้างอิง และ  ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ  ส่วนความอิสระในที่นี้หมายถึง ความอิสระในการตัดสินใจของฝ่ายปกครองโดยปราศจากการแทรกแซงใดๆ ต้องมีความเป็นกลาง มีความโปร่งใส และมีความเป็นธรรม ความอิสระในการใช้ดุลพินิจมิได้หมายความว่าฝ่ายปกครองมีอำนาจตัดสินใจอย่างใดๆ ก็ได้ตามอำเภอใจ การที่ฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามอำเภอใจไม่ใช่เป็นการใช้ดุลพินิจแต่เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ การใช้อำนาจตัดสินใจอย่างอิสระที่จะเลือกกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีเหตุผลอันสมควรภายในขอบเขตแห่งกฎหมาย การใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย เริ่มจากการพิจารณาคำร้องหรือคำขอว่าได้ยื่นถูกต้องตามแบบ ขั้นตอน และระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ก่อนมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำร้องหรือคำขอ เมื่อได้รับคำร้องไว้พิจารณาแล้วต้องใช้ดุลพินิจพิจารณาอย่างอิสระ   เป็นกลาง โปร่งใส ไม่บิดเบือนวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ของกฎหมาย ไม่ใช้อำนาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนด คำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของบุคคลขณะเดียวกันจะต้องสงวนและรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของส่วนรวมด้วย นอกจากนี้ การใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครองจะต้องไม่ฝ่าฝืนระเบียบภายในของฝ่ายปกครองที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติ ต้องใช้ดุลพินิจอย่างมีเหตุมีผลและไม่ขัดกับหลักกฎหมาย ส่วนการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ไม่สอดคล้องเหมาะสมกับข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แต่ละกรณี รวมถึงการใช้ดุลพินิจไม่เป็นไปตามสัดส่วนของการกระทำ(Principle of Proportionality) ซึ่งเป็นหลักกฎหมายพื้นฐานที่กำหนดความสัมพันธ์ของผู้ใช้อำนาจปกครองกับผู้อยู่ใต้อำนาจปกครองให้เกิดความสมดุลสมเหตุสมผลพอเหมาะพอควรแก่กรณี ได้แก่ หลักความเหมาะสม (Principle of Suitability) คือการใช้อำนาจให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามกฎหมาย หลักความจำเป็น (Principle of Necessity) ต้องออกคำสั่งทางปกครองที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนน้อยที่สุดหรือทำให้รัฐเสียหายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และหลักความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ (Principle of Proportionality in the Narrow Sense)หากผลของคำสั่งทางปกครองเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมน้อยมากเมื่อเทียบกับความเสียหายที่ประชาชนได้รับ
ขั้นตอนการใช้ดุลพินิจ การใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครองมี ๓ ขั้นตอน คือ การวินิจฉัยข้อเท็จจริง  การปรับบทกฎหมาย และ การตัดสินใจ
ขั้นตอนแรก  การวินิจฉัยข้อเท็จจริงฝ่ายปกครองจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิด
ขึ้นจากพยานหลักฐาน และต้องพิจารณาว่าพยานหลักฐานที่มีอยู่เพียงพอต่อการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่าได้เกิดขึ้นหรือมีอยู่จริงหรือไม่ เมื่อได้ข้อเท็จจริงแน่ชัดแล้วจึงนำมาปรับกับบทกฎหมายในขั้นตอนที่สอง ซึ่งกฎหมายจะบัญญัติข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ประกอบโดยใช้ถ้อยคำที่มีความชัดเจนแน่นอน แต่บางกรณีกฎหมายบัญญัติถ้อยคำที่มีความหมายกว้างๆ และไม่มีคำจำกัดความไว้ กรณีนี้ฝ่ายปกครองจะต้องปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อเท็จจริงที่บัญญัติไว้ในกฎหมายโดยใช้วิจารณญาณเสมือนเช่นวิญญูชนโดยทั่วไปพึงเข้าใจ เช่น คำว่า “การกระทำที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ”  “มีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคม”  “การกระทำอันน่ารังเกียจ” เป็นต้น การที่กฎหมายบัญญัติถ้อยคำที่มีความหมายกว้างและไม่แน่นอน แสดงให้เห็นโดยปริยายว่า มีเจตนารมณ์ให้การปรับบทกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริงเป็นดุลพินิจของฝ่ายปกครองนั่นเอง เมื่อฝ่ายปกครองวินิจฉัยข้อเท็จจริงและปรับบทกฎหมายแล้วขั้นตอนที่สามคือการตัดสินใจ ซึ่งต้องพิจารณาว่ากฎหมายกำหนดให้ฝ่ายปกครองกระทำการได้เพียงประการเดียวหรือหลายประการ หากกฎหมายให้อำนาจดุลพินิจฝ่ายปกครองจะกำหนดให้ฝ่ายปกครองมีทางเลือกตัดสินใจได้หลายทาง ดุลพินิจที่บัญญัติอยู่ในกฎหมายแบ่งได้เป็น ๒ ประการ คือ 
๑. ดุลพินิจตัดสินใจ ฝ่ายปกครองจะใช้อำนาจหรือไม่ก็ได้  สังเกตได้จากถ้อยคำในกฎหมายมักใช้คำว่า “มีอำนาจ” “มีสิทธิ” “อาจ...ก็ได้” “เสียได้” “สามารถ” หรือ “ควรจะ” เป็นต้น 
๒.ดุลพินิจเลือกกระทำ ฝ่ายปกครองมีอำนาจดุลพินิจว่าจะเลือกกระทำการใดในหลายประการให้สอดคล้องเหมาะสมกับข้อเท็จจริงหรือภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ซึ่งแยกได้เป็น ๒ กรณี คือ 
    ๒.๑ ดุลพินิจที่จะเลือกกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในหลายประการตามที่กฎหมายกำหนด เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข .. ๒๕๓มาตรา ๒๖  ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดมิให้ก่อเหตุรำคาญในที่หรือทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชนรวมทั้งการระงับเหตุรำคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บำรุงรักษา บรรดาถนน ทางบก ทางน้ำ รางระบายน้ำ คู คลอง และสถานที่ต่างๆ ในเขตของตนให้ปราศจากเหตุรำคาญ ในการนี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กำจัดและควบคุมเหตุรำคาญต่างๆ ได้  กฎหมายดังกล่าวให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นกระทำการหลายอย่างซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถเลือกกระทำการใดการหนึ่งได้เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและสถานการณ์ในแต่ละกรณีว่ากรณีใดควรใช้อำนาจระงับเหตุรำคาญ กรณีใดควรใช้อำนาจดูแล ปรับปรุง บำรุงรักษา เป็นต้น
    ๒.๒ ดุลพินิจเลือกกระทำได้เองภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดโดยกฎหมายไม่ได้กำหนดทางเลือกไว้ เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข .. ๒๕๓๕ มาตรา ๔๑ วรรคหนึ่ง  เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหน้าที่ควบคุมดูแลที่หรือทางสาธารณะเพื่อประโยชน์ใช้สอยของประชาชนทั่วไป ขอบเขตที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหน้าที่ควบคุมดูแลที่หรือทางสาธารณะ คือ เพื่อประโยชน์ใช้สอยของประชาชนทั่วไป โดยมิได้กำหนดทางเลือกไว้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถกำหนดทางเลือกได้เองแต่ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ใช้สอยของประชาชนทั่วไป ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายปกครอง ตามหลักกฎหมายปกครอง การกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมายเสมอ ดังนั้น การกระทำของฝ่ายปกครองจึงต้องถูกตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายอยู่เสมอทั้งจากองค์กรภายในฝ่ายปกครอง
และจากองค์กรภายนอก การตรวจสอบโดยองค์กรภายในของฝ่ายปกครอง ผู้ได้รับผลกระทบจากคำสั่งทางปกครองสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองได้ ตามหลักกฎหมายปกครองที่ว่าคำสั่งทางปกครองสามารถอุทธรณ์ได้เสมอ ดังจะเห็นได้จากพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ..๒๕๓๙ ได้วางหลักการสำคัญไว้ในมาตรา ๔๕ ประกอบ มาตรา ให้สิทธิประชาชนสามารถอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองได้แม้กฎหมายในเรื่องนั้นๆ จะไม่ได้กำหนดเรื่องการอุทธรณ์ไว้ก็ตาม  หรือการขอให้พิจารณาใหม่ ตามมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ..๒๕๓๙  เมื่อคู่กรณีมีคำขอ เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองแม้ว่าจะพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้วก็ตาม นอกจากนี้ กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ยังกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติในการควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองไว้หลายประการ เช่น เรื่องความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่  การรับฟังความเห็นข้อโต้แย้งของคู่กรณี  การให้เหตุผลไว้ในคำสั่งทางปกครองหรือการจัดให้มีเหตุผลในการทำคำสั่งทางปกครอง เป็นต้น
การควบคุมตรวจสอบจากองค์กรภายนอก ได้แก่  
ก.ศาลปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๙ ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร  การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ  และสัญญาทางปกครอง เป็นต้น  ศาลปกครองจะทำหน้าที่ตรวจสอบว่าฝ่ายปกครองได้กระทำการโดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่ เป็นองค์กรฝ่ายตุลาการที่ทำหน้าที่ควบคุมให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นองค์กรที่มีอำนาจวินิจฉัยสุดท้าย
. ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖  ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือการปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายปกครอง
สรุปแล้ว ดุลพินิจของฝ่ายปกครองเป็นการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติเพื่อให้ฝ่ายปกครองได้มีทางเลือกในการตัดสินใจกระทำการใดหรือไม่กระทำการใดเพื่อปรับใช้กฎหมายให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับข้อเท็จจริงตามยุคตามสมัยเพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ตามกฎหมาย การใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครองต้องเป็นไปอย่างอิสระปราศจากการแทรกแซงใดๆ มีความเป็นกลาง โปร่งใส เป็นธรรม และมีเหตุผลในการใช้อำนาจดุลพินิจที่เหมาะสมตรวจสอบได้ ซึ่งต่างกับการใช้อำนาจตามอำเภอใจเพราะการใช้อำนาจตามอำเภอใจไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจดุลพินิจแต่เป็นการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากฝ่ายปกครองใช้อำนาจตามอำเภอใจหรือใช้อำนาจดุลพินิจไปโดยไม่ชอบก็อาจถูกตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายโดยผู้บังคับบัญชาของฝ่ายปกครอง  ศาลปกครอง หรือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และอาจต้องรับผิดในทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัยจากผลการกระทำนั้นได้
โดย นายชำนาญวิทย์  เตรัตน์ (นบ.,นม.,นบท.,รม.) นิติกร สำนักกฎหมาย สป. ช่วยราชการสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย 
 อำนาจดุลพินิจ คือ อำนาจที่กฎหมายให้ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงานของฝ่ายปกครองใช้วิจารณญาณอย่างมีเหตุมีผลโดยอิสระที่จะพิจารณาเลือกตัดสินใจสั่งการหรือไม่สั่งการไปตามความเหมาะสมกับข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ในแต่ละกรณีเพื่อประโยชน์ของประชาชน
 อำนาจผูกพัน คือ อำนาจที่กฎหมายกำหนดให้ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงานของฝ่ายปกครองต้อง
ตัดสินใจออกคำสั่งเมื่อมีข้อเท็จจริงตามที่กฎหมายกำหนดจะใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นไม่ได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดนั่นเอง
 อำพน  เจริญชีวินทร์, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการฟ้องและการดำเนินคดีในศาลปกครอง,พิมพ์ครั้งที่ , (สำนักพิมพ์นิติธรรม: กรุงเทพมหานคร,๒๕๔๕),หน้า ๕๘.
 เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕๗-๕๘.
ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป,พิมพ์ครั้งที่ ๑๔(ประกายพรึก: กรุงเทพมหานคร,๒๕๔๒),หน้า ๑๑๔-๑๑๕.
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ 
 มาตรา ๓๙ วรรคหนึ่ง  การออกคำสั่งทางปกครองเจ้าหน้าที่อาจกำหนดเงื่อนไขใดๆ ได้เท่าที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดข้อจำกัดดุลพินิจเป็นอย่างอื่น
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ 
  มาตรา ๕๐  คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กำหนดได้ แต่ถ้าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับ การเพิกถอนต้องเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา ๕๑ และมาตรา ๕๒
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ..๒๕๓๙ 
 มาตรา ๒๘  ในการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสมในเรื่องนั้นๆ โดยไม่ต้องผูกพันอยู่กับคำขอหรือพยานหลักฐานของคู่กรณี
พระราชบัญญัติสถานบริการ ..๒๕๐๙ 
 มาตรา วรรคสอง  ในการพิจารณาอนุญาต ให้พนักงานเจ้าหน้าที่คำนึงถึงประวัติการกระทำความผิดต่อกฎหมายของผู้ขออนุญาตตั้งสถานบริการประกอบด้วย
 พระราชบัญญัติสถานบริการ .. ๒๕๐๙
   มาตรา   เมื่อได้รับคำขออนุญาตตั้งสถานบริการ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาสั่งภายในเก้าสิบวัน
 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ..๒๕๓๙ 
    มาตรา ๓๗  คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
    (ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
    (ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
    (ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
    นายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายอาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้คำสั่งทางปกครองกรณีหนึ่งกรณีใดต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งนั้นเองหรือในเอกสารแนบท้ายคำสั่งนั้นก็ได้
ฯลฯ
 อำเภอใจ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง การกระทำโดยเอาแต่ใจตัวไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น.
รศ.ดร. วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานในกฎหมายมหาชน รวมบทความเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายปกครองและกฎหมายรัฐธรรมนูญ, พิมพ์ครั้งแรก,(นิติธรรม:กรุงเทพมหานคร,๒๕๔๐),หน้า ๑๐๒-๑๐๗.
 เฉลิมศักดิ์ วงศ์ศิริวัฒน์, ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครอง HYPERLINK "http://www.stabundamrong.go.th" www.stabundamrong.go.th หน้า -๑๐.
 รศ.ดร.กมลชัย  รัตนสกาววงศ์,หลักกฎหมายปกครองเยอรมัน, (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพมหานคร, ๒๕๔๔), หน้า ๒๕๕-๒๕๖.

PAGE  


PAGE 




วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

การลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน

ข้อ ๑ , ๒ และ ๖ กรมที่ดินได้มีประกาศ เรื่อง การลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ลงวันที่  ๑๕ กันยายน  ๒๕๔๗ กำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายไว้ประมาณ ๖๔ วันทำการ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
                 ๑.  ประชาสัมพันธ์จ่ายบัตรคิว
                 ๒.  ชี้ระวางแผนที่
                 ๓.  สอบสวนรับคำขอ/เขียนหรือพิมพ์ใบสั่งค่าธรรมเนียม
                ๔.  รับเงินค่าธรรมเนียม เขียนหรือพิมพ์ใบเสร็จ
                 ๕.  ส่งฝ่ายรังวัดนัดรังวัด/วางเงินค่าใช้จ่ายการรังวัด
                      ขั้นตอน ๑-๕  ใช้เวลาปฏิบัติงานภายใน ๑  วัน
                 ๖.  ค้นหาหลักฐานที่ดินและแผนที่/แจ้งเจ้าของที่ดินข้างเคียง
                      ภายในระยะเวลารอการรังวัด (ไม่เกิน ๓๐ วัน)
                 ๗.  ช่างฯ ออกไปทำการรังวัด/รายงานผลการรังวัด
                                         ใช้เวลาปฏิบัติงานประมาณ ๒๐ วันทำการ
                 ๘.  ตรวจสอบความถูกต้องเสนอเจ้าพนักงานที่ดิน
                       จังหวัด/สาขา
                                           ใช้เวลาปฏิบัติงานประมาณ ๒ วันทำการ
                 ๙.  เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด/สาขาพิจารณาสั่งการ                                               ใช้เวลาปฏิบัติงานประมาณ ๑ วัน
                 ๑๐.  ถอนจ่ายเงินค่าใช้จ่ายการรังวัด/ส่งคืนฝ่ายรังวัด 
                                           ใช้เวลาปฏิบัติงานประมาณ ๑ วัน
                 ๑๑.  จัดทำประกาศแจกโฉนดที่ดินเสนอเจ้าพนักงานที่ดิน
                        จังหวัด/สาขาลงนาม
                                           ใช้เวลาปฏิบัติงานประมาณ ๓ วันทำการ
                 ๑๒.  ประกาศออกโฉนดที่ดิน (๓๐ วัน)
                 ๑๓.  ตรวจสอบ/จัดสร้างโฉนดที่ดิน
                         ขั้นตอน ๑๒ - ๑๓  ใช้เวลาปฏิบัติงานประมาณ ๓๐ วัน
                 ๑๔.  เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด/สาขาพิจารณาลงนาม
                        แจ้งผู้ขอมารับโฉนดที่ดิน
                                           ใช้เวลาปฏิบัติงานประมาณ ๕ วันทำการ
                 ๑๕.  รับค่าธรรมเนียม
                 ๑๖.  แจกโฉนดที่ดินให้ผู้ขอ
                        ขั้นตอน ๑๕ - ๑๖                                  
                                           ใช้เวลาปฏิบัติงานประมาณ ๑ วัน
            สำหรับระยะเวลาดังกล่าวจะไม่รวมระยะเวลาที่เสียไป เนื่องจากมีกรณีขัดข้องดังต่อไปนี้
- ระยะเวลารอการรังวัดตามลำดับการรังวัด ซึ่งกรมที่ดิน 
  กำหนดให้ระยะเวลาการนัดรังวัด นับจากวันยื่นคำขอไม่ควร
 เกิน ๓๐ วัน
- การดำเนินการที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของส่วนราชการ
  อื่น
- การดำเนินการที่อยู่ในระหว่างการร้องเรียนหรือหาข้อมูลเพิ่ม
  เติมนอกเหนือจากขั้นตอนการปฏิบัติราชการตามปกติ
- ประชาชนผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ผิดนัดหรือละเลยไม่มาติดต่อขอ
  ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
- กรณีหลักฐานไม่ครบถ้วน ต้องทำหนังสือหรือแจ้งขอ
  หลักฐานเพิ่มเติม
- เหตุผลอื่นใดอันมิใช่เกิดจากการบกพร่องในการปฏิบัติงาน
  ของเจ้าหน้าที่

            ๓. หากในวันรังวัด มีผู้คัดค้านโดยอ้างว่าที่ดินที่ทำการรังวัดเพื่อออกโฉนด ได้ออกโฉนดไปแล้ว ให้ช่างฯ บันทึกถ้อยคำการโต้แย้งไว้เป็นหลักฐาน และเจ้าพนักงานที่ดินจะรับคำคัดค้านไว้เพื่อทำการสอบสวนเปรียบเทียบต่อไป

                ๔. หากจะต้องสอบสวนตามข้อ ๓ การสอบสวนจะเริ่มต้นเมื่อประกาศครบกำหนด ๓๐ วัน ให้เจ้าพนักงานที่ดินหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ทำหนังสือแจ้งผู้ขอและผู้คัดค้านภายใน ๓ วัน หากผู้ขอและผู้โต้แย้งไม่มาให้ทำหนังสือแจ้งนัดให้ทราบอีกครั้งภายใน ๗ วัน นับแต่วันครบกำหนดครั้งแรก เมื่อทำการสอบสวนเปรียบเทียบแล้วตกลงกันได้ให้บันทึกข้อตกลงไว้ในแบบบันทึกถ้อยคำ ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้เสนอเรื่องให้
เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาพิจารณาสั่งการให้แล้วเสร็จภายใน ๗ วัน เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาพิจารณาสั่งการประการใด ให้แจ้งคำสั่งเปรียบเทียบให้คู่กรณีทราบภายใน ๒ วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่ง

            ๕. กรณี ตามข้อ ๓ จะขอให้เจ้าหน้าที่ปิดประกาศ ๓๐ วัน ไปก่อน และจะสอบสวนในภายหลังได้หรือไม่ หากไม่มีเหตุขัดข้องประการอื่น นอกจากการจัดทำแผนที่พิพาทเจ้าหน้าที่สามารถปิดประกาศ ๓๐ 

ปัญหาการรังวัดสอบเขตที่ดินข้างเคียง


            ทนายคลายทุกข์ขอนำปัญหาการรังวัดสอบเขตที่ดินข้างเคียง ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในต่างจังหวัด ตามประมวลกฎหมายที่ดิน .. 2497มาตรา 69 ทวิ มานำเสนอว่า กรณีมีปัญหาเรื่องเนื้อที่ไม่ตรงกัน ติดต่อข้างเคียงไม่ได้หรือมีการคัดค้านหรือมีการฟ้องร้อง จะต้องทำอย่างไร

            ในการรังวัดสอบเขต ถ้าปรากฏว่าการครอบครองไม่ตรงกับแผนที่หรือเนื้อที่ในโฉนดที่ดินให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจแก้ไขแผนที่หรือเนื้อที่ในโฉนดที่ดินให้ตรงกับความเป็นจริงได้ มื่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงได้ลงชื่อรับรองแนวเขตแล้ว เว้นแต่เป็นการสมยอมเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายเช่น แบ่งขาย หรือแลกเปลี่ยนกันเอง โดยไม่จดทะเบียนเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม

            กรณีต้องให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงลงชื่อรับรองเขตก่อน ถึงจะแก้ไขได้ ถือเป็นหลักทั่วไป เป็นการคุ้มครองสิทธิทุกฝ่าย แต่ก็มีข้อยกเว้นในวรรคสาม

            วรรคสาม วิธีปฏิบัติในกรณีข้างเคียงไม่ได้รับรองแนวเขต
            วรรคสามนี้ เพื่อง่ายต่อการเข้าใจ ขอแยกสาเหตุที่ไม่ได้มีการลงชื่อรับรองแนวเขตไว้ 3 กรณี  และอธิบายควบกับวรรคสี่ เพราะต่อเนื่องกันดังนี้

1) ไม่อาจติดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงให้มาระวังแนวเขตได้
กรณีนี้ หมายความว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีหนังสือแจ้งให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงไประวังชี้รับรองเขตอยู่แล้ว (ดูมาตรา 70) แต่ปรากฏว่าไม่อาจติดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงรายนั้นได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะได้ย้ายภูมิลำเนาจากที่อยู่เดิม แล้วไม่ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบ หรือยังอยู่ที่เดิมแต่ไปรษณีย์นำจ่ายไม่ได้ เช่น ไม่มีผู้รับ หรืออยู่นอกเขตจ่าย เป็นต้น

2) ติดต่อได้ แต่ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงไม่มาระวังแนวเขต

3) ติดต่อได้ และผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงมาระวังแนวเขต แต่ไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขต โดยไม่ได้คัดค้านการรังวัด
            ในสาเหตุหนึ่งเหตุใดใน 3 กรณี ดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการเพิ่มเติมอีก ดังนี้

            (1) กรณีติดต่อได้ แต่ข้างเคียงไม่มาระวังแนวเขตหรือติดต่อได้และเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้มาระวังแนวเขตแต่ไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขต โดยไม่คัดค้านการรังวัด ตาม (2) และ (3) ทั้ง 2 กรณีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้นั้นมาลงชื่อรับรองเขต หรือคัดค้านภายใน30 วัน นับแต่วันที่ได้ ?ส่ง?หนังสือแจ้ง โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยัง ตามที่อยู่ที่เคยติดต่อหรือตามที่อยู่ที่ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงนั้นได้แจ้งเป็นหนังสือไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

            (2) ในกรณีที่ไม่อาจติดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงให้มาระวังแนวเขตได้ (ตาม 1)
กรณีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องทำหนังสืออีกครั้งแจ้งให้ผู้นั้นมารับรองแนวเขตหรือคัดค้านการรังวัดภายใน 30 วัน โดยปิดหนังสือแจ้งฉบับนั้นไว้ในที่เปิดเผย  บริเวณที่ดินของข้างเคียงรายนั้น และที่ว่าการเขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่อันเป็นที่ตั้งของที่ดินแปลงนั้น แห่งละ 1 ฉบับพร้อมกับส่งหนังสือแจ้งนั้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังเจ้าของที่ดินข้างเคียงรายนั้นตามที่อยู่ที่พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามได้ความจากนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือถ้าสอบถามแล้วก็ยังไม่ทราบ ก็ให้ส่งไปยังที่อยู่ตามที่อยู่ที่ปรากฏหลักฐานที่สำนักงานที่ดิน

            เมื่อดำเนินการมีหนังสือแจ้งไปอีกครั้ง หรือปิดประกาศ ตาม (1)และ (2) แล้ว แต่กรณีแล้ว ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงรายนั้นไม่ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด คือมารับรองเขตหรือคัดค้านแนวเขตภายใน 30 วันและผู้ขอสอบเขตได้ให้คำรับรองว่ามิได้ทำการรังวัดรุกล้ำที่ดินข้างเคียงและยินยอมให้แก้ไขรูปแผนที่หรือเนื้อที่ตรงกับความเป็นจริง หากปรากฏในภายหลังว่าแผนที่หรือเนื้อที่ที่แก้ไขใหม่นั้นไม่ถูกต้อง ก็ให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการแก้ไขรูปแผนที่หรือเนื้อที่ โดยไม่ต้องมีการลงชื่อรับรองแนวเขต

            วรรคสี่ ?การติดต่อหรือการแจ้งข้างเคียงผู้มิสิทธิในที่ดินข้างเคียงตามวรรคสามให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง?
            (ได้แก่ ฉบับที่ 31 ได้นำสาระสำคัญมารวมไว้ในวรรคสามแล้ว)

            วรรคห้า ในการรังวัดสอบเขต ถ้าปรากฏว่ามีผู้คัดค้าน ให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจสอบสวนไกล่เกลี่ยโดยให้ถือหลักฐานแผนที่เป็นหลักในการพิจารณา

            ถ้าตกลงกันไม่ได้ ให้แจ้งคู่กรณีไปฟ้องศาลภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ขอไม่ประสงค์จะสอบเขตโฉนดที่ดินนั้นต่อไป (ตัวบทใช้คำว่า ?ให้แจ้งคู่กรณีหมายความว่าต้องแจ้งทั้ง 2 ฝ่าย คือทั้งฝ่ายผู้ขอและฝ่ายผู้คัดค้าน ดังนั้น การนับ 90วัน ต้องนับจากวันที่รับแจ้งฝ่ายล่าสุด)
 ขอบคุณทนายคลายทุกข์ครับ
http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=1688     

แบบแจ้งการครอบครอบที่ดิน (ส.ค. 1)

แบบแจ้งการครอบครอบที่ดิน (.. 1)


แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (..1) คือใบแจ้งการครอบครองที่ดินเป็นหลักฐานว่าผู้ครอบครองเป็นผู้แจ้งว่า ตนครอบครองที่ดินแปลงใดอยู่ (แต่ปัจจุบันไม่มีการแจ้ง ..1 อีกแล้ว) ..1 ไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิที่ดิน เพราะไม่ใช่หลักฐานที่ทางราชการออกให้เพียงแต่เป็นการแจ้งการครอบครองที่ดินของราษฎรเท่านั้น ดังนั้น ตามกฎหมาย ที่ดินที่มี ..1 จึงทำการโอนกันได้ เพียงแต่แสดงเจตนาสละการครอบครองและไม่ยึดถือพร้อมส่งมอบให้ผู้รับโอนไปเท่านั้น ก็ถือว่าเป็นการโอนกันโดยชอบแล้ว ผู้มี ..1 มีสิทธินำมาขอออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (..3, ..3 ., หรือ ..3 ) ได้ 2 กรณี คือ
          กรณีที่ 1 นำมาเป็นหลักฐานในการขอออกโฉนดที่ดินตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ กรณีนี้ ทางราชการจะเป็นผู้ออกให้เป็นท้องที่ไป โดยจะมีการประกาศให้ทราบก่อนล่วงหน้า
          กรณีที่นำมาเป็นหลักฐานในการขอออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (..3, ..3 .หรือ .. ) เฉพาะราย คือ กรณีที่เจ้าของที่ดินมีความประสงค์ จะขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ก็ให้ไปยืนคำขอ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่เฉพาะการออกโฉนดที่ดินนี้ จะออกได้ในพื้นที่ที่ได้สร้างระวางแผนที่สำหรับออกโฉนดที่ดินไว้แล้วเท่านั้น

บริเวณที่ดินที่จะทำการออกโฉนดที่ดินได้นั้น บริเวณดังกล่าวต้องมีการสร้างระวางแผนที่เพื่อการออกโฉนดที่ดินไว้แล้ว ตามระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (..2532) ข้อ 4 ซึ่งการขอสร้างระวางแผนที่เพื่อการออกโฉนดที่ดิน สำนักงานที่ดินแห่งท้องที่จะเป็นผู้ขอสร้างระวางแผนที่ได้ แต่หากบริเวณใดที่ยังไม่มีระวางแผนที่ หรืออยู่ระหว่างการขอสร้างระวางแผนที่ แต่หากผู้ถือส..1 ไม่ประสงค์จะรอการขอสร้างระวางดังกล่าว ก็สามารถยื่นคำขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามหลักฐาน ..1 ดังกล่าวและนำมาขอออกโฉนดที่ดินในภายหลังเมื่อมีระวางแผนที่พร้อมแล้วได้ ส่วนการจะออกเป็น ..3 (ครุฑเขียว)หรือ .. 3 (ครุฑดำ) นั้นขึ้นอยู่กับบริเวณนั้นมีระวางรูปถ่ายทางอากาศหรือไม่ หากมีก็สามารถออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยใช้ระวางรูปถ่ายทางอากาศ (..3) (ครุฑเขียว) ให้กับผู้ถือส..1 ได้ แต่หากไม่มีต้องออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์(..3) (ครุฑดำ) ให้ จึงขอให้ผู้ถือส.. 1 ติดต่อสำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของท่านอยู่ในหลักเกณฑ์ที่สามารถออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่อย่างไร [กฎกระทรวงฉบับที่ 43 (..2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ..2497]
กรมที่ดิน ประกาศยกเลิก .. 1 ให้เวลา 2 ปี
โดยที่มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 11) .. 2551 ได้กำหนดให้ผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน (..1)และยังมิได้ยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ นำหลักฐาน ..1 มายื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (6 กุมภาพันธ์ 2553) และเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวหากมีผู้นำหลักฐาน ..1 มาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้ต่อเมื่อศาลยุติธรรมได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ถึงที่สุดว่าผู้นั้นเป็นผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ในการพิจารณาคดีของศาล ให้ศาลแจ้งให้กรมที่ดินทราบ และให้กรมที่ดินตรวจสอบกับระวางรูปแผนที่รูปถ่ายทางอากาศหรือระวางรูปถ่ายทางอากาศฉบับที่ทำขึ้นก่อนสุดเท่าที่ทางราชการมีอยู่ พร้อมทั้งทำความเห็นเสนอต่อศาลว่า ผู้นั้นได้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินนั้นโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับหรือไม่ เพื่อประกอบการพิจารณาของศาล ความเห็นดังกล่าว ให้เสนอต่อศาลภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งจากศาล เว้นแต่ศาลจะขยายระยะเวลาเป็นอย่างอื่น

        คำถาม-คำตอบที่ควรรู้

        ถาม  .. 1 หาย ติดต่อสำนักงานที่ดิน น้ำปาด บอกว่าให้ติดต่อ ที่ดินฟากท่า เมื่อติดต่อไปที่ดินฟากท่า บอกว่าเอกสารถูกไฟไหม้ไปเมื่อปี 2535 หมดแล้ว ทางกรมที่ดินจะให้ไปติดต่อที่ใด เพื่อออกหลักฐานแทน สค 1 ที่หายไป ต้องการใช้ด่วน
        ตอบ  .. 1 สูญหาย จะต้องไปยื่นคำขอตรวจสอบทะเบียนการครอบครอง สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตามหลักฐาน ..1 ดังกล่าวตั้งอยู่ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบและสอบสวนเพื่อจัดทำ ..1 ขึ้นใหม่ทั้งสองตอน แต่ทั้งนี้จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงตามที่กรมที่ดินได้วางแนวทางไว้ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหนังสือของกรมที่ดิน ที่ มท 0610/ 2608 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2509 สรุปได้ว่าการจัดทำส..1 ขึ้นใหม่ทั้งสองตอนนั้น ต้องเป็นกรณีที่ปรากฏหลักฐานในทะเบียนการครอบครองที่ดินว่า ได้มีการรับแจ้งการครอบครองไว้และส..1 ตอนที่ 2 (ฉบับเจ้าของที่ดิน) ก็สูญหายไปด้วยเช่นกันโดยให้สอบสวน ..1 ฉบับอำเภอว่าสูญหายไปได้อย่างไรก่อน และสอบสวนเจ้าของที่ดินเป็นข้อมูลในการจัดทำ แล้วดำเนินการจัดทำ ..1 ขึ้นใหม่ทั้ง 2 ตอน โดยอาศัยหลักฐานในทะเบียนการครอบครองที่ดินแล้วมอบ ..1 ตอนที่ 2 ให้เจ้าของที่ดินรับไปเป็นหลักฐานต่อไป หากทะเบียนการครอบครองที่ดินเล่มของสำนักงานที่ดินชำรุดสูญหาย สำนักงานที่ดินก็สามารถขอตรวจสอบมาทางกรมที่ดิน โดยระบุเลขที่ ..1 หมู่ที่ ตำบล อำเภอ จังหวัดและชื่อผู้แจ้งการครอบครองที่ดินให้ชัดเจน กรมที่ดินก็จะตรวจสอบกับเล่มทะเบียนการครอบครองที่ดินทางส่วนกลางและแจ้งให้สำนักงานที่ดินทราบต่อไป กรณี ..1 สูญหายนี้ เจ้าหน้าที่จะพิจารณาจัดทำขึ้นใหม่ตามมาตรา 64 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินไม่ได้เพราะแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ..1 เป็นเพียงหลักฐานที่แสดงว่า ผู้แจ้งเป็นผู้ครอบครองที่ดินอยู่ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินเท่านั้นและประมวลกฎหมายที่ดินก็ไม่ได้บัญญัติให้ดำเนินการได้เช่นเดียวกับกรณีโฉนดที่ดิน ใบไต่สวน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือใบจองฉบับสำนักงานที่ดินเป็นอันตรายชำรุดหรือสูญหาย

       ถาม  การซื้อขายที่ ..1 จะต้องไปจดทะเบียนที่ที่ดินหรือไม่ ถ้าไม่ไป สัญญาดังกล่าวจะเป็นโมฆะและเรียกเงินคืนได้หรือไม่?
       ตอบ  ..1 เป็นหนังสือซึ่งผู้ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แจ้งการครอบครองที่ดินต่อนายอำเภอท้องที่ตามนัยมาตรา 5 แห่ง ... ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน .. 2497 ..1 จึงไม่ใช่หนังสือแสดงกรรมสิทธิในที่ดิน เป็นเพียงหนังสือที่พนักงานเจ้าหน้าที่ลงรับไว้เป็นหลักฐานว่าได้รับแจ้งการครอบครองเท่านั้น การซื้อขายที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ .. 1 ทำได้โดยการส่งมอบการครอบครองที่ดิน มิได้มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สำนักงานที่ดินให้ปรากฏ ที่ดินประเภทนี้จึงเป็นที่ดินมือเปล่าและการแจ้งการครอบครองที่ดินนี้ก็มิได้ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้ง ( มาตรา 5 วรรคท้าย แห่ง ... ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน .. 2497 ) ดังนั้น ตามกฎหมายที่ดินที่มีส..1 จึงทำการโอนกันได้ด้วยการส่งมอบการครอบครอง

       ถาม  มีที่ดิน .. 1 โดยพ่อซื้อต่อจากญาติและยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อใน ใบส..1 และได้ทำกินมาตลอด(ปลูกยางพาราและบ้านอาศัย) ต่อมาพ่อเสียชีวิตและญาติที่มีชื่อใน ..1 ก็เสียชีวิตไปนานแล้ว ลูกๆได้ทำกินในที่นั้น ตลอดไม่ได้ทิ้งช่วง อยากจะขอออกเป็นโฉนด ลูกๆจะต้องเดินเรื่องอย่างไร เพราะใบ ..1 ไม่ใช่ชื่อพ่อ?
       ตอบ  ผู้ที่ครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องจากผู้แจ้ง .. 1 สามารถนำ .. 1 ดังกล่าว ไปยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินได้

       ถาม  ครอบครองที่ดินแปลงหนึ่ง มีสำเนา สค.1 อยู่ แต่ไม่ใช่ชื่อของผม เป็นของญาติ ปัจจุบันมีชีวิตอยู่ ถ้าต้องการสค.1ใหม่ต้องทำอย่างไรบ้าง และถ้าออกสค.1ใหม่ได้จะเป็นชื่อใคร ถ้าเป็นชื่อของญาติ เราจะนำไปออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ ถ้ามีสัญญาซื้อขายไปยืนยันด้วย
       ตอบ  ..1 คือ แบบแจ้งการครอบครองที่ดินสำหรับการนำหลักฐาน ..1 ไปขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ นั้น ผู้ที่ครอบครองและทำประโยชน์ต่อเนื่องมาจากผู้มีชื่อในส.. 1 ย่อมขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ ประโยชน์ โดยอาศัยหลักฐาน ..1 และสัญญาซื้อขายในนามตนเองได้ โดยสามารถดำเนินการได้ 2 วิธี 1.โดยการดำเนินสำรวจออกโฉนดตามมาตรา 58 และ 58 วรรค (1) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน 2.ขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะตามมาตรา 59 แห่งประมวลกฎหมายทีดิน โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สำนักงานที่ดินจังหวัดนั้น

       ถาม  มีใบ สค1 แต่ยังไม่ได้ทำโฉนด คือจะถามว่า ยังไงที่ดินก็ยังเป็นของเราใช่ใหมครับ กลัวว่าที่ข้างเคียงจะมั่วเอาที่ของผมไปด้วยครับ?
       ตอบ  กรณีนี้ที่ดินที่มีหลักฐาน .. 1 ขอแนะนำให้ไปยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินก่อนวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2553 เนื่องจากพ้นกำหนดดังกล่าว ผู้ที่ไปยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โดยอาศัยหลักฐาน .. 1 จะต้องนำคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดว่าเป็นผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย

       ถาม  จะซื้อที่ดินเเปล่าแต่ไม่มีโฉนดที่ดิน ในหมู่บ้านหนองสมอ .หนองระเวียง .เมือง นครราชสีมา มีแต่ใบสค 1 ,ใบเสียภาษีที่ดิน อยากทราบว่าจะสามารถซื้อมาเป็นกรรมสิทธิ์ของเราได้หรือเปล่า และถ้าซื้อมาสามารถ ขอออกโฉนดที่ดินได้หรือเปล่า จะมีปัญหายุ่งยากหรือเปล่าคะ รบกวนตอบด่วนด้วยนะคะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ?
       ตอบ  ..1 เป็นหนังสือซึ่งผู้ที่ได้ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน แจ้งการครอบครองที่ดิน ต่อนายอำเภอท้องที่ตามนัยมาตรา 5 แห่ง ... ให้ใช้ประมวลกฎมายที่ดินพ.. 2497 ..1 จึงไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเป็นเพียงหนังสือที่พนักงานเจ้าหน้าที่ลงรับไว้เป็นหลักฐานว่าได้รับแจ้งการครอบครองเท่านั้น ที่ดินมี ..1 จึงเป็นที่ดินมือเปล่าและการแจ้งการครอบครองที่ดินมิได้ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้งแต่อย่างใด กล่าวคือ ถ้าผู้แจ้งการครอบครองมิใช่ผู้มีสิทธิในที่ดิน การแจ้งการครอบครองก็มิได้ทำให้ผู้แจ้งมีสิทธิขึ้นมาแต่อย่างใด สำหรับการออกโฉนดที่ดินจากหลักฐาน ..1 นั้น สามารถดำเนินการได้ตามมาตรา 59 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินโดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สำนักงานที่ดินท้องที่ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ สำหรับที่ดินที่สามารถออกโฉนดที่ดินได้จะต้องเป็นที่ดินที่มีผู้มิสิทธิในที่ดินได้ครอบครองทำประโยชน์แล้ว และเป็นที่ดินที่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ตามกฎหมาย ยกเว้น
           1. ที่ดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่นทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ ที่ชายตลิ่ง
           2. ที่เขา ที่ภูเขา และพื้นที่ที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามตามมาตรา 9(2) แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแต่ไม่รวมถึงที่ดินซึ่งผู้ครอบครองมีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายที่ดิน
           3. ที่เกาะ แต่ไม่รวมถึงที่ดินของ(ซึ่งมีหลักฐานแจ้งการครอบครองที่ดิน มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หนังสือรับรองการทำประโยชน์โฉนดตราจอง ตราจองที่ได้ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" หรือเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพหรือที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติให้จัดแก่ประชาชนหรือที่ดินซึ่งได้มีการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 10และมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติแล้ว
           4. ที่สงวนหวงห้ามตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน .. 2497 มาตรา 20(3) และ (4) แห่งประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 3) .. 2526 หรือกฎหมายอื่น
           5. ที่ดินที่คณะรัฐมนตรีสงวนไว้เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น
           ดังนั้น หากจะซื้อที่ดินแล้วปรากฎว่า ที่ดินมี ..1 ควรให้ผู้ขายนำ ..1 ไปยื่นคำขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเสียก่อนเพื่อจะได้ตรวจสอบและพิสูจน์ที่ดินเสียก่อน

        คำพิพากษาฎีกาที่ควรรู้

        คำพิพากษาฎีกาที่ 1518/2503 การแจ้งการครอบครองที่ดินตามแบบ ..1 นั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้แจ้งแต่ประการใด เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้สิทธิครอบครองอยู่แล้ว โดยชอบด้วยกฎหมาย

        คำพิพากษาฎีกาที่ 1076-1079/2510 ผู้ที่ไม่มีสิทธิในที่ดิน แม้จะได้ไปแจ้งการครอบครอง ได้รับ ..1 และได้รับ ..3 ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น รับซื้อที่ดิน ..3 ไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อปรากฏว่าผู้มีชื่อใน ..3 ไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น ผู้ซื้อก็ไม่มีสิทธิแต่อย่างใด

        คำพิพากษาฎีกาที่ 472/2513 ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่า ..1 นั้นเป็นหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือถือว่าเหมือนโฉนด การแจ้งเป็นเพียงการแสดงเจตนาอย่างหนึ่งว่า ผู้แจ้งยังไม่สละสิทธิครอบครองที่ดินที่แจ้งนั้น การแจ้งก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่หรือกรรมสิทธิ์นอกเหนือไปจากสิทธิที่ครอบครองมีอยู่แต่เดิม

Source: www.dol.go.th
http://www.vtlandlawoffice.com/sorkor1.html